Notice: Function _load_textdomain_just_in_time was called incorrectly. Translation loading for the wp-auto-updater domain was triggered too early. This is usually an indicator for some code in the plugin or theme running too early. Translations should be loaded at the init action or later. Please see Debugging in WordPress for more information. (This message was added in version 6.7.0.) in /home/outoffli35/domains/outofflink.com/public_html/wp-includes/functions.php on line 6114

Notice: Function _load_textdomain_just_in_time was called incorrectly. Translation loading for the hueman domain was triggered too early. This is usually an indicator for some code in the plugin or theme running too early. Translations should be loaded at the init action or later. โปรดดู การแก้ข้อผิดพลาดใน WordPress สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม (ข้อความนี้ถูกเพิ่มมาในรุ่น 6.7.0.) in /home/outoffli35/domains/outofflink.com/public_html/wp-includes/functions.php on line 6114
วิธีป้องการเกิดผื่นผ้าอ้อม - สาระสุขภาพ

วิธีป้องการเกิดผื่นผ้าอ้อม

วิธีป้องกันผื่นผ้าอ้อมที่ดีที่สุด คือการรักษาก้นของทารกให้แห้งอยู่เสมอ คุณแม่จึงควรหมั่นเปลี่ยนผ้าอ้อมให้น้องบ่อย ๆ นะคะ

  1. ทำความสะอาดอวัยวะเพศของน้องทุกครั้งที่เปลี่ยนผ้าอ้อม โดยใช้ผ้าแตะซับผิวของน้องเบา ๆ ให้แห้ง ระวังอย่าใช้ผ้าถู เพราะจะทำให้เกิดการระคายเคืองได้ค่ะเมื่อน้องเริ่มกินอาหารแข็ง ๆ ได้บ้างแล้ว แนะนำให้คุณแม่ค่อย ๆ ให้เขาหัดกินไปทีละอย่างนะคะ รอสักสองสามวันค่อยให้น้องกินอาหารชนิดใหม่ วิธีนี้จะช่วยให้คุณแม่รู้ว่าผื่นผ้าอ้อมเป็นผลมาจากการแพ้อาหารชนิดนั้น ๆ หรือไม่ค่ะ
  2. อย่าใส่ผ้าอ้อมให้แน่นจนเกินไป การสวมเสื้อผ้าและผ้าอ้อมให้ทารก ควรให้มีช่องว่างหลวม ๆพอที่จะให้อากาศระบายได้ และควรหลีกเลี่ยงผ้าที่แนบติดตัว เช่น กางเกงผ้าพลาสติกแน่นๆ ค่ะ
  3. ไม่ควรซักผ้าอ้อมด้วยผลิตภัณฑ์ซักผ้าที่ผสมน้ำหอม และไม่ควรใช้น้ำยาปรับผ้านุ่มนะคะ เพราะทั้งสองอย่างนี้อาจทำให้ผิวของลูกน้อยระคายเคืองได้ ควรใช้น้ำร้อนซักทำความสะอาดผ้าอ้อมแล้วล้างด้วยน้ำเปล่าสองครั้ง หรือคุณแม่จะเติมน้ำส้มสายชูสักครึ่งถ้วยลงในน้ำล้างน้ำแรกก็ได้ค่ะ เพื่อช่วยขจัดสารที่มีฤทธิ์เป็นด่างซึ่งก่อให้การระคายเคือง ถ้าคุณแม่ใช้ผ้าอ้อมแบบสำเร็จรูป บางครั้งอาจต้องลอง เปลี่ยนยี่ห้อแล้ว ดูสิคะว่า อาการผื่นคันของน้องดีขึ้นหรือไม่
  4. โดยปกติแล้วอุจจาระบวกกับปัสสาวะของทารกจะมีความเป็นด่าง ซึ่งทำให้ผิวระคายเคืองและมี โอกาสเป็นผื่นผ้าอ้อมได้มากขึ้น แต่การให้ทารกกินนมแม่ให้นานที่สุดอาจช่วยได้ค่ะ เพราะว่านมแม่จะช่วยลดค่า ph ในอุจจาระได้ ทำให้มีความเป็นกรดเพิ่มขึ้น นอกจากนี้โดยทั่วไปแล้ว การให้น้อง กินนมแม่ยังช่วยกระตุ้นให้เขามีภูมิคุ้มกันต้านทานการติดเชื้อ ทำให้ทารกมีโอกาสใช้ยาปฏิชีวนะ น้อยลง ซึ่งยาปฏิชีวนะนี้ก็เป็นอีกสาเหตุหนึ่งที่ทำให้น้องเป็นผื่นผ้าอ้อมได้ด้วยค่ะ
  5. พยายามหยุดการใช้ผ้าอ้อมหรือใส่ผ้าอ้อมให้น้อยที่สุดเท่าที่จะทำได้แม้จะอยู่ในห้องแอร์ และเปลี่ยนผ้าอ้อมให้ลูกบ่อยๆ(อย่างน้อยทุกๆ 2-3 ชั่วโมงหรือทุกครั้งที่ลูกถ่ายปัสสาวะหรืออุจจาระ) เพื่อช่วยให้ผิวหนังของลูกได้สัมผัสอากาศมากที่สุดเท่าที่จะทำได้ ผิวลูกจะได้แห้ง ไม่เปียกชื้นอยู่ตลอดเวลา เพราะฉะนั้นถ้าลูกเป็นผื่นผ้าอ้อม จะต้องลดเวลาการใส่ผ้าอ้อมลงไปอีกเรื่อยๆและดูแลผิวลูกให้ถูกต้องและดีขึ้นอีกจนกระทั่งลูกไม่มีปัญหาผื่นผ้าอ้อมอีก
  6. ควรใช้ผ้าอ้อมชนิดใช้ครั้งเดียวแล้วทิ้งที่มีเจลหรือผ้าใย (microfiber cloth) ที่ช่วยดูดซึมความเปียกชื้นจากผิวหนัง จะช่วยให้ผิวหนังแห้งและมีโอกาสเป็นผื่นผ้าอ้อม
  7. เมื่อลูกปัสสาวะหรืออุจจาระควรถอดเปลี่ยนผ้าอ้อม แล้วทำความสะอาดผิวหนังส่วนที่อยู่ในผ้าอ้อมเบาๆ ด้วยน้ำเปล่า หรือสบู่ไร้ด่างหากเริ่มมีรอยเเดงแต่ยังไม่เกิดผื่น สามารถใช้ปริโตเลียมเจล หรือวาสลีน ทาบางๆบริเวณรอยแดง วาสลีนเป็นเกราะป้องกันไม่ให้ผิวของลูกน้อยเสียดสีกับผ้าอ้อมโดยตรง ซึ่งสามารถป้องกันการระคายเคืองได้เป็นอย่างดี วาสลีน เจลลี่ ได้ผ่านกระบวนการต่างๆในการกลั่นถึงสามขั้นตอนเพื่อป้องกันการระคายเคืองต่อผิวที่บอบบางของลูกน้อย หลังอาบน้ำเสร็จ ซับตัวลูกเบาๆให้แห้งแล้วทา วาสลีนเจลลี่ ลงบนบริเวณผิวที่อาจเป็นผื่นผ้าอ้อมก่อนใส่ผ้าอ้อม วาสลีนเจลลี่ จะทำหน้าที่ป้องกันและบรรเทาการระคายเคืองจากการเสียดสีทีผิวของลูก
  8. หลังทำความสะอาดผิวหนังบริเวณผ้าอ้อมของลูก ควรเช็ดให้แห้ง ปล่อยให้ผิวหนังลูกสัมผัสกับอากาศก่อนแล้วจึงทาด้วยครีมหรือ Ointment ที่มีZinc Oxide หรือ Petrolatum (วาสลีน ) หรือ dimethiconeเพื่อเคลือบปกป้องผิวไม่ให้เกิดการระคายเคือง
  9. ไม่ควรทาแป้งบริเวณขาหนีบและอวัยวะเพศของลูกเพราะแป้งจะจับกับเหงื่อที่ออกในบริเวณนั้นกลายเป็นคราบหรือก้อนแป้งชื้นๆแฉะๆ ทำให้ผิวชื้นแฉะตลอดเวลา และสามารถเกิดอาการระคายเคืองและเป็นผื่นผ้าอ้อมง่ายขึ้น
  10. ควรพาลูกไปพบแพทย์หากดูแลรักษาตามวิธีข้างต้นแล้วอาการไม่ดีขึ้นภายใน 2-3 วัน หรือเมื่อสงสัยว่าลูกอาจมีการติดเชื้อแบคทีเรีย เป็นตุ่มหนอง หรือ เป็นผื่นเนื่องจากเชื้อรา
    doctor karon

You may also like...

error: Content is protected !!